เอาชนะความสิ้นเปลืองทั้ง 8 เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

แก่นของการทำการผลิตแบบลีน (Lean Production) คือการลดความสูญเปล่าและเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดให้กับการผลิต ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับบริษัทต้องเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน จากมุมมองการแข่งขันใหม่ๆ

จากมุมมองของหนังสือโดย McKinsey & Company, EBITDA margins in the packaging sector are about 10 percent จินตนาการว่าเราสามารถประหยัดต้นทุนได้กว่า 100,000 ยูโร หรือประมาน 3.9 ล้านบาทต่อปีจากการทำการผลิตแบบลีน ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่สามารถเพิ่มมูลค่าการหมุนเวียนการซื้อขายและเพิ่มอัตราการหมุนเวียนการซื้อขายให้กับบริษัทได้มากกว่า 1 ล้านยูโรต่อปี หรือ 39 ล้านบาทต่อปี และก็ยังสามารถชูได้ว่าเป็นการเพิ่มยอดขายโดยไร้ซึ้งของเสีย 100%

 ความสูญเปล่าและความสิ้นเปลือง เป็นมากกว่าคอนเทนท์ที่เราจะพูดกันในหน้าหนังสือพิมพ์ แต่วันนี้เราสามารถผสมผสาน ระหว่างความรวดเร็วในการผลิตและลดการสิ้นเปลือง จากการผลิตได้ในเวลาเดียวกัน

ความสิ้นเปลืองที่ 1 : การผลิตเกินความจำเป็น

การผลิตจำเป็นต้องใช้หมึกและวัสดุสำหรับพิมพ์ การผลิตเกินความจำเป็นๆการสิ้นเปลือง หรือ การผสมหมึกเกินความจำเป็นถือเป็นการสิ้นเปลือง

ความสิ้นเปลืองที่ 2 : การขนส่ง

ในส่วนนี้เราจะคำนึงถึงต้นทุนของการขนส่ง ถ้าเราซื้อหมึกในถังขนาดใหญ่ จะช่วยให้ต้นทุนการขนส่งถูกลงกว่าการส่งแบบถังเล็กๆในจำนวนมากและหลายครั้ง การเคลื่อนย้ายสินค้าถือว่าเป็นรายจ่ายที่ไม่เกิดมูลค่า ซึ่งถ้าเราซื้อหมึกที่เปน Base มาแทนที่จะซื้อหมึกที่ผสมมาแล้วจำนวนมากๆ เราจะสามารถช่วยลดต้นทุนการขนส่งได้

ความสิ้นเปลืองที่ 3 : การผลิตงานใหม่และการปฎิเสธ

ต้นทุนของการที่เราต้องจ่ายจากการที่เราทำไม่ได้ตามมาตรฐานที่คาดไว้ ในส่วนของการสิ้นเปลืองวัสดุ, กำลังและเวลาในการผลิต เราต้องโฟกัสที่กับความผิดพลาดที่ศูนย์ จากการที่เราสามารถทำสีให้ถูกต้องได้ในครั้งแรก ช่วยลดความสิ้นเปลืองทั้ง วัสดุ, หมึก และเวลาในการผลิตรวมถึงเวลาในการทำงานด้วย

ความสิ้นเปลืองที่ 4 : สินค้าและทรัพย์สิน

การเก็บสต๊อกสินค้าที่ไม่เกิดคุณภาพและลูกค้าไม่ประสงค์จะจ่ายมัน นอกจากนี้ยังมีต้นทุนสำหรับการเก็บรักษา ซึ่งเรานี้คือต้นทุนส่วนเกินที่อาจจะเกิดขึ้นถ้าปราศจากการบริหารที่มีประสิทธิภาพ หมึกในสต๊อคเกินความจำเป็นหรือหมึกที่หมดสต๊อกและหมดอายุ ล้วนแล้วแต่เป็นต้นทุนที่จะเกิดขึ้น

ความสิ้นเปลืองที่ 5 : กิจกรรมที่ไม่จำเป็น

ในการกำจัดกิจกรรมที่ไม่สร้างมูลค่า อย่างเช่นการผสมสีใกล้เครื่องพิมพ์ช่วยย่นระยะเวลาในการเคลื่อนย้ายและการเคลื่อนที่ของหมึก และถ้าหากเราบริหารห้องหมึกของเราให้ดี ก็ไม่จำเป็นต้องมานั่งหาถังหมึกหรือหมึกที่ต้องการอยู่ที่ไหน ลดระยะเวลาในการดำเนินการได้

ความสิ้นเปลืองที่ 6 : กระบวนการมากเกินไป

ในกระบวนการบางอย่างที่ ไม่ได้อยู่ใน Work-Flow ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหา ยกตัวอย่าง ในการผสมสีบนถัง 200 ลิตรกับการผสมสีในถัง 20 ลิตร จะเสียทั้งเวลาและเพิ่มต้นทุน หรือการ ที่เราต้องผสมหมึกใหม่โดยมีทั้งค่าใช้จ่ายและเวลาเพิ่มเติมจากการผสมจาก Supplier

ความสิ้นเปลืองที่ 7 : การรอคอย

สินค้า, ผู้คนและข้อมูลที่ถูกคอยสำหรับการจัดส่งไม่มีมูลค่า ในการเตรียมหมึกด้วยตัวเองแผนการผลิตจะมีมีอิสระมากขึ้น ลดการรอคอยและการพึ่งพาความน่าเชื่อถือของ Supplier เช่นเดียวกันหากเรามีเครื่องผสมหมึกอัตโนมัติ การผสมหมึกจะง่ายลงและลดระยะเวลาการผลิตได้อย่างมาก 

ความสิ้นเปลืองที่ 8 : ความสามารถของบุคคล

การพึ่งพาความสามารถของตัวบุคคลมากเกินไปในกระบวนการทำงาน หมายความว่าความรู้ของตัวบุคคลและสิ่งที่ถูกฝึกมาจะถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด มันสามารถบั่นทอนกำลังใจการทำงาน ยกตัวอย่างในการใช้ความสามารถส่วนตัวบุคคลในการผสมสี 

 – การผสมสีแบบที่ใช้พนักงานผสม กับการผสมสีอัตโนมัติ

  • ผสมสีอัตโนมัติไม่จำเป็นต้องตรวจเช็คบ่อย
  • การกำจัดและเคลื่อนย้ายหมึกที่ไม่ได้ใช้ในสต๊อกง่ายดาย
  • การตั้งค่างานใหม่อัตโนมัติโดยอิงจากค่า การตั้งค่าก่อนหน้าจากระบบอัตโนมัติ